จัดทำโดย

วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2564

 ป่าสนเขา

ป่าสนเขา (Coniferous Forest หรือ Pine Forest)

ป่าสนหรือป่าสนเขาในประเทศไทยมักปรากฏอยู่ตามภูเขาสูงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป

ป่าชนิดนี้จึงมีอยู่มากในภาคเหนือ ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอยู่บ้างไม่มากนัก และบางทีอาจปรากฏในที่ซึ่งมีระดับความสูงเพียง 200-300 เมตรเท่านั้น ในภาคตะวันออกและภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปยังไม่ปรากฏว่าพบป่าชนิดนี้ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ 

ป่าสนเขาโดยทั่วไปมักจะขึ้นอยู่ในที่ที่ซึ่งดินไม่ค่อยจะอุดมสมบูรณ์นัก มีความเป็นกรดสูง ลักษณะเป็นป่าโปร่งไม่ผลัดใบ ต้นสนเขาบางทีจะขึ้นอยู่เป็นหมู่ล้วนๆ

โดยไม่มีต้นไม้ชนิดอื่นปะปน แต่บางครั้งอาจขึ้นกระจายเป็นหย่อมๆหรือขึ้นปะปนอยู่กับชนิดพันธุ์ไม้ของป่าดงดิบเขา หรือป่าแดงก็มี 

ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญของป่าชนิดนี้ คือ สนสองใบและสนสามใบ ส่วนต้นไม้ชนิดอื่นๆที่ขึ้นอยู่ด้วยกัน ได้แก่จำพวกพันธุ์ไม้ป่าดงดิบเขา เช่นก่อชนิดต่างๆ 
หรือพันธุ์ไม้ป่าแดงบางชนิด คือ เต็ง รัง เหียง พลวง เหล่านี้ เป็นต้น


อ้างอิงมาจาก






 ป่าดิบเขา




ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) 
เป็นป่าที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล ตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป ส่วนใหญ่อยู่บนเทือกเขาสูงทางภาคเหนือ และบางแห่งในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่นที่ อช.ทุ่งแสลงหลวง และ อช.น้ำหนาว เป็นต้น มีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000 ถึง2,000 ม. พืชที่สำคัญได้แก่ไม้วงศ์ก่อ เช่น ก่อสีเสียด ก่อตาหมูน้อย อบเชย กำลังเสือโคร่ง เป็นต้น บางทีก็มีสนเขาขึ้นปะปนอยู่ด้วย ส่วนไม้พื้นล่างเป็นพวกเฟิร์น กล้วยไม้ดินและมอส ป่าชนิดนี้มักอยู่บริเวณต้นน้ำลำธาร


อ้างอิงมาจาก







ป่าดิบแล้ง



ป่าดิบแล้งพบกระจายทั่วไปตามที่ราบเชิงเขา ไหล่เขา และหุบเขาที่ชุ่มชื้นจนถึงพื้นที่ระดับ 

ความสูงไม่เกิน 950 เมตร ทางภาคกลาง (ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา) ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ถึงจังหวัดจันทบุรี ในป่าผลัดใบที่มีลำน้ำสายใหญ่ มีน้ำไหลหรือชุ่มชื้นตลอดปี บริเวณสองฟากริ่มฝั่งน้ำ จะเปลี่ยนเป็นป่าดิบแล้งริ่มฝั่งหรือ gallery forest ประกอบด้วยไม้ต้นขึ้นเป็นกลุ่มๆ เพียงไม่กี่ชนิด เช่น ยางน, ยางแดง , ตะเคียนทอง , ประดู่ส้ม , ทองหลางป่า  และยมหอม  เป็นต้น

ป่าดิบแล้งมีลักษณะโครงสร้างคล้ายกับป่าดิบชื้น กล่าวคือ เรือนยอดของป่าจะดูเขียวชอุ่มมาก หรือน้อยตลอดปี แต่ในป่าดิบแล้งจะมีไม้ต้นผลัดใบ (deciduous tree) ขึ้นแทรกกระจายมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ สภาพดินฟ้าอากาศและความชุ่มชื้นในดิน ป่าดิบแล้งในบริเวณที่มีความชุ่มชื้นในดินน้อยหรือ ไม่สม่ำเสมอตลอดปี ก็จะปรากฏไม้ผลัดใบมากขึ้นในชั้นเรือนยอด ป่าดิบแล้งในบริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง จะมีไม้ผลัดใบปะปนอยู่เป็นจำนวนไม่มากนัก ไม้ต้นผลัดใบของป่าดิบแล้งที่สำคัญ เช่น สมพง , ปออีเก้ง , ซ้อ , มะมือ , ยมหิน , ยมป่า , ขางช้าง , กระเชา , สอม , คงคาเดือด, ตะแบกใหญ่ , ตะแบกเกรียบ , และเสลาใบใหญ่ 

อ้างอิงมาจาก

https://sites.google.com/site/beautifulwood60539/home/padib-laeng




 ป่าเต็งรัง




ป่าแดง ป่าแพะ หรือที่รู้จักในชื่อ ป่าเต็งรัง เป็นป่าผลัดใบประเภทหนึ่ง ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง  พื้นที่แห้งแล้งดินร่วนปนทราย กรวด หรือลูกรัง พบอยู่ทั่วไปในที่ราบ และตามเนินเขา

ปัจจัยสำคัญที่สุดที่กำหนดการคงอยู่ของป่าเต็งรังคือ ไฟป่า ซึ่งมักเกิดขึ้นระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคม เนื่องจากไฟเป็นตัวจัดการโครงสร้างป่าและคัดเลือกพันธุ์ไม้ ต้นฤดูแล้งใบไม้ในป่าเต็งรังจะพร้อมใจกันผลัดใบเป็นสีแดง เหลือง ส้ม อย่างสวยงาม แล้วจะสลัดใบทิ้งจนหมดกลายเป็นเชื้อเพลิงชั้นดี หลังจากไฟผ่านไป พื้นป่าจะโล่งเตียน แต่เมื่อได้รับน้ำฝน ป่าเต็งรังก็จะกลับเขียวสดขึ้นอีกครั้งด้วยหญ้าระบัด ดึงดูดสัตว์กินพืชหลายชนิดเข้ามา

ชนิดพันธุ์ไม้ที่สำคัญในป่าแดง หรือป่าเต็งรัง ได้แก่ เต็ง รัง เหียง แดง ตะแบก ส่วนไม้พื้นล่างที่พบมาก ได้แก่ ปรง หญ้าเพ็ก และหญ้าชนิดอื่น ๆ สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในป่าเต็งรัง เช่น วัวแดง กระทิง กวางป่า เก้ง กระต่ายป่า เสือ สุนัขจิ้งจอก ตลอดจนพวกสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกและสัตว์ปีก เช่น ไก่ป่า นกชนิดต่าง ๆ

อ้างอิงมาจาก

มูลนิธิสืบนาคะเสถียน

https://www.seub.or.th/bloging/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%AB%E0%B8%B7%E0%B8%94/%E0%B9%82%E0%B8%8B%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B9%87%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B3/


 ป่าดิบชื่น

ป่าดิบชื้น หรือ ป่าฝนเขตร้อน (อังกฤษtropical rain forest) จัดเป็นป่าประเภทไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีสีเขียวตลอดทั้งปี ต้นไม้จะไม่ผลัดใบในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก ต้นไม้ไม่มีความจำเป็นต้องผลัดใบเพื่อลดการคายน้ำป่าชนิดนี้มักจะเรียกกันว่าป่าดงดิบ เป็นป่าที่อยู่ในเขตมรสุมพัดผ่านเกือบตลอดทั้งปี ขึ้นอยู่ตามที่ราบลุ่ม ที่ราบเชิงเขาที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 0-100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (บางครั้งอาจพบอยู่สูงถึงระดับ 250 เมตร) และมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 มม./ปี พบมากทางภาคใต้และแถบจังหวัดชายทะเลภาคตะวันออก เช่น จังหวัดระยองจันทบุรี และตราด

อ้างอิงมาจาก




 ป่าสนเขา ป่าสนเขา (Coniferous Forest หรือ Pine Forest) ป่าสนหรือป่าสนเขาในประเทศไทยมักปรากฏอยู่ตามภูเขาสูงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ซึ่งมีความสูงจ...