จัดทำโดย

วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2564


ป่าดิบแล้ง



ป่าดิบแล้งพบกระจายทั่วไปตามที่ราบเชิงเขา ไหล่เขา และหุบเขาที่ชุ่มชื้นจนถึงพื้นที่ระดับ 

ความสูงไม่เกิน 950 เมตร ทางภาคกลาง (ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา) ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ถึงจังหวัดจันทบุรี ในป่าผลัดใบที่มีลำน้ำสายใหญ่ มีน้ำไหลหรือชุ่มชื้นตลอดปี บริเวณสองฟากริ่มฝั่งน้ำ จะเปลี่ยนเป็นป่าดิบแล้งริ่มฝั่งหรือ gallery forest ประกอบด้วยไม้ต้นขึ้นเป็นกลุ่มๆ เพียงไม่กี่ชนิด เช่น ยางน, ยางแดง , ตะเคียนทอง , ประดู่ส้ม , ทองหลางป่า  และยมหอม  เป็นต้น

ป่าดิบแล้งมีลักษณะโครงสร้างคล้ายกับป่าดิบชื้น กล่าวคือ เรือนยอดของป่าจะดูเขียวชอุ่มมาก หรือน้อยตลอดปี แต่ในป่าดิบแล้งจะมีไม้ต้นผลัดใบ (deciduous tree) ขึ้นแทรกกระจายมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ สภาพดินฟ้าอากาศและความชุ่มชื้นในดิน ป่าดิบแล้งในบริเวณที่มีความชุ่มชื้นในดินน้อยหรือ ไม่สม่ำเสมอตลอดปี ก็จะปรากฏไม้ผลัดใบมากขึ้นในชั้นเรือนยอด ป่าดิบแล้งในบริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง จะมีไม้ผลัดใบปะปนอยู่เป็นจำนวนไม่มากนัก ไม้ต้นผลัดใบของป่าดิบแล้งที่สำคัญ เช่น สมพง , ปออีเก้ง , ซ้อ , มะมือ , ยมหิน , ยมป่า , ขางช้าง , กระเชา , สอม , คงคาเดือด, ตะแบกใหญ่ , ตะแบกเกรียบ , และเสลาใบใหญ่ 

อ้างอิงมาจาก

https://sites.google.com/site/beautifulwood60539/home/padib-laeng


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 ป่าสนเขา ป่าสนเขา (Coniferous Forest หรือ Pine Forest) ป่าสนหรือป่าสนเขาในประเทศไทยมักปรากฏอยู่ตามภูเขาสูงส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ซึ่งมีความสูงจ...